วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555


การออกแบบการเรียนการสอน

แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructionist's)

การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Desig) มีชื่อเรียกหลากหลาย  เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)  การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional Design and Developmen)  เป็นต้น  ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด  แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือ มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (System Approach) (ฉลอง, 2551)
แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา  ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ  รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design Systems)    หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึงปัจจุบัน  นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ
รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบและการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์
ที่เชื่อได้ว่า ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด
ทิศนา (2548) ได้กล่าวว่า รูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอน(Teaching/Instructional Model)  คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดระบบอย่างสัมพันธ์กับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ  และได้รับการพิสูจน์  ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ   สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว   มักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด   ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือเป็นแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้
2.1.2   ทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism)
2.1.2.1  ความหมายของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม  ได้มีผู้ให้ความหมายและชื่อของทฤษฎี
Constructivism ไว้แตกต่างกัน ดังนี้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่าเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน(สุภนิดา, 2553)
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism Approach) มีหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการสอน การเรียนรู้คือนักเรียนจะต้องสร้างความรู้ (Knowledge) ขึ้นในใจเอง ครูเป็นแค่เพียงผู้ช่วยหรือเข้าใจในกระบวนการนี้โดยหาวิธีการจัดการข้อมูลข่าวสารให้มีความหมายแก่นักเรียน หรือให้โอกาสนักเรียนได้มีโอกาสค้นพบด้วยตนเอง นอกจากนี้จะต้องสอนศิลปะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  นักเรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเองไม่ว่าครูจะใช้วิธีสอนอย่างไร (สุรางค์, 2541)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)  ทฤษฎีการสร้างความรู้ว่าด้วยผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นได้เอง การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของบุคคลในการสร้างความรู้และความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้รับ ผ่านกระบวนการซึมซับ (Assimilation)  คือการนำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ที่ได้รับไปเชื่อมโยงอย่างกลมกลืนกับโครงสร้างความรู้ที่ตนมีอยู่  และการปรับกระบวนการการรู้คิด  (Accommodation)  คือการคิดค้นหาวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างความเข้าใจจนเกิดเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง  ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการภายในที่แต่ละบุคคลต้องเป็นผู้สร้างด้วยตนเองและสามารถทำได้ดียิ่งหากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากที่อื่น (ราชบัณฑิตสถาน, 2551)
นิรมิตนิยม (Constructivism) (นิรมิต แปลว่า สร้าง) สรุปไว้ว่า“นิรมิตนิยมเชื่อว่า ความรู้ ก็คือ
สิ่งที่ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจ    ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเขา  ขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของเขา เราไม่สามารถจะถ่ายทอดความรู้จากการสอนโดยตรง  แต่เด็กจะต้องค้นพบความรู้ด้วยตัวของเขา  ซึ่งก็หมายความว่าเด็กต้องสร้าง (Construct) ความรู้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง   การสร้างความรู้นั้นก็มีหลักการว่า ต้องเรียนความรู้จากบริบทที่แวดล้อมอยู่ ต้องเรียนจากการทำจริงปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่เป็นจริง ครูยังมีบทบาทสำคัญ ไม่ใช่ฐานะผู้สอนแต่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เด็กต้องมีอิสระที่จะเลือก ที่จะเรียน  เด็กต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อนนักเรียนด้วยกันมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ฯลฯ
หลักการต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กสามารถนิรมิต (Construc)  ความรู้ใหม่  (สำหรับตัวเขา) ขึ้นได้”
(สุนทร, 2540)
ทฤษฎีการสร้างความรู้นิยม (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่เน้นบทบาทของความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เรียนในการเรียนรู้หรือสร้างข้อมูลอย่างมีความหมาย  นักทฤษฎีสร้างความรู้นิยม เน้นความสำคัญของความเข้าใจปัจจุบัน  และเห็นว่าการเรียนรู้ใหม่เกิดจากการแปลความหรือตีความจากความเข้าใจภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่ข้อมูลเดี่ยวแต่เป็นการเชื่อมสัมพันธ์กับความรู้ที่มีในภายหลัง (ณมน, 2549)
สรุปได้ว่า ทฤษฎี Constructivism เป็นทฤษฎีที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำข้อมูลและเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองและยังเป็นกระบวนการทางสังคมอีกด้วย  ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียกว่าทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
2.1.2.2   หลักการที่สำคัญในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (Active)   และสร้างความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างเชาว์ปัญญาของ Piajet  และ  Vygotsky  ซึ่งอธิบายว่า  โครงสร้างทางสติปัญญา (Scheme)  ของบุคคลมีการพัฒนาผ่านทางกระบวนการดูดซับหรือซึมซับ  (Assimilation)
และกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญา  (Accommodation)   เพื่อให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล (Equilibrium) ซึ่ง Piajet   เชื่อว่าทุกคลจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม    ส่วน Vygotsky  ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม  สังคม  และภาษามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ สุรางค์  (2544) ได้กล่าวว่า พื้นฐานของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม มีรากฐานมาจาก 2 แห่ง คือ ทฤษฎีพัฒนาการของ Piajet และ Vygotsky คือ
2.1.2.2.1   ทฤษฎีสร้างความรู้นิยมเชิงปัญญา (Cognitive Constructivism) หมายถึงฐานรากมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ Piajet ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ  (Active)  และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลย์ทางพุทธิปัญญาขึ้นเป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่จนกระทั่งเกิดความสมดุยล์ทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
2.1.2.2.2   ทฤษฎีสร้างความรู้นิยมเชิงสังคม (Social Constructivism)   เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ Vygotsky  ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขึ้น
สรุปได้ว่า  Piajet  เน้นการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับความรู้เดิม  ในขณะที่แนวคิดของ Vygotsky  เน้นการเรียนรู้ว่าเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
2.1.3   ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของ Bruner
Jerome Bruner  เป็นนักจิตวิทยาแนวพุทธิปัญญา  ที่เน้นที่พัฒนาการเกี่ยวกับความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจของผู้เรียนประกอบกับการจัดโครงสร้างของเนื้อหาที่จะเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
และได้เสนอทฤษฎีการสอน (Theory of Instruction)
2.1.3.1   การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
NECTEC’s Web based Learning ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ตามทฤษฎีของBruner ไว้ดังนี้
1.  ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2.  ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.  ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
4.  ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.  ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6.  เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
สุรางค์ (2541) ได้กล่าวว่า Bruner เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม   ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา Bruner เรียกว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery – Approach)   หรือนักการศึกษาบางท่านเรียกว่า  การเรียนรู้ด้วยการสอบ  สืบ  ( Inquiry Learning) แต่มีนักการศึกษาบางท่านได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้โดยการค้นพบและการเรียนรู้แบบสอบสืบแตกต่างกัน คือ การเรียนรู้โดยการค้นพบ ครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่จะให้นักเรียนเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของบทเรียนพร้อมด้วยคำถาม     โดยตั้งความคาดหวังว่านักเรียนจะเป็นผู้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ส่วนการเรียนรู้ด้วยการสอบสืบมีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถชี้ว่าปัญหาคืออะไร     จากข้อมูลที่มีอยู่และหาวิธีว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไรโดยใช้ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่  ซึ่งสอดคล้องกับ พรรณี (2528) กล่าวว่า Discovery เด็กจะใช้การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้มาเพื่อการค้นพบ Concept โดยการสังเกต (Observing)  การจัดประเภท (Classifying)  การวัด (Measuring)  การทำนาย (Predicting)  และการอ้างอิง (Inferring)   ส่วน Inquiry  จะใช้กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วบวกกับกระบวนการต่อไปนี้  การตั้งคำถาม   การตั้งสมมติฐาน   การวางแผน การทดลองตลอดจนการสังเคราะห์ และการแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ ผู้เรียนจะประมวลข้อมูลข่าวสาร จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจะรับรู้สิ่งที่ตนเองเลือก หรือสิ่งที่ใส่ใจ การเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้เกิดการค้นพบ  เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น    ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สำรวจสิ่งแวดล้อม  และทำให้เกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยมีแนวคิดที่เป็นพื้นฐาน ดังนี้
สุรางค์ (2541)  การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน  การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
Bruner ได้เห็นด้วยกับ Piajet ว่า คนเรามีโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) มาตั้งแต่เกิด
ในวัยทารกโครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อน  เพราะยังไม่พัฒนาต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการขยายและซับซ้อนขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนก็คือการช่วยเอื้อการขยายของโครงสร้างสติปัญญาของนักเรียน นอกจากนี้ Bruner  ยังได้ให้หลักการเกี่ยวกับการสอนดังต่อไปนี้
1.  กระบวนความคิดของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่ เวลาเด็กทำผิดเกี่ยวกับความคิด ผู้ใหญ่ควรจะคิดถึงพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา  ซึ่งเด็กแต่ละวัยมีลักษณะการคิดที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่  ครูหรือผู้มีความรับผิดชอบทางการศึกษาจะต้องมีความเข้าใจว่าเด็กแต่ละวัยมีการรู้คิดอย่างไร และกระบวนการรู้คิดของเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่ (Intellectual Empathy)
2.  เน้นความสำคัญของผู้เรียน  ถือว่าผู้เรียนสามารถจะควบคุมกิจกรรม การเรียนรู้ของตนเองได้ (Self- Regulation) และเป็นผู้ที่จะริเริ่มหรือลงมือกระทำ ฉะนั้นผู้มีหน้าที่สอนและอบรม มีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยให้โอกาสผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3.  ในการสอนควรจะเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคย  หรือประสบการณ์ที่ใกล้ตัวไปหา
ประสบการณ์ที่ไกลตัว เพื่อผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจ เช่น การสอนให้นักเรียนรู้จักการใช้แผนที่ ควรจะเริ่มจากแผนที่ของจังหวัดของผู้เรียนก่อนแผนที่จังหวัดอื่นหรือแผนที่ประเทศไทย
Bruner   เชื่อว่าวิชาต่าง ๆ  จะสอนให้ผู้เรียนเข้าใจได้ทุกวัย   ถ้าครูจะสามารถใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  ข้อสำคัญครูจะต้องให้นักเรียนเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้แก้ปัญหาเอง Bruner ได้สรุปความสำคัญของการเรียนรู้โดยการค้นพบว่าดีกว่าการเรียนรู้โดยวิธีอื่น ดังต่อไปนี้
1.  ผู้เรียนจะเพิ่มพลังทางสติปัญญา
2.  เน้นรางวัลที่เกิดจากความอิ่มใจในสัมฤทธิ์ผลในการแก้ปัญหามากกว่ารางวัลหรือเน้นแรงจูงใจภายในมากกว่าแรงจูงใจภายนอก
3.  ผู้เรียนจะเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยการค้นพบและสามารถนำไปใช้ได้
4.  ผู้เรียนจะจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีและได้นาน
พรรณี (2545) กล่าวว่า ความคิดของ Bruner  เกี่ยวกับการสอนคือ  ในการสอนเรามุ่งหวังที่จะสอนให้คนมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ เราสอนเนื้อหาวิชา แต่มิใช่เพื่อให้ท่องจำ แต่สอนเพื่อช่วยให้ได้คิดอย่างมีเหตุผล  ให้ได้มีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้   ความรู้เป็นกระบวนการได้เป็นผลผลิต
สรุปได้ว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือ การรู้คิดโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine  และ  Symbolizing  ซึ่งอยู่ในขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ  Enactive, Iconic  และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตมิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น Bruner เห็นด้วยกับ Piajet ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา (Cognitive Structure) มาตั้งแต่เกิด   ในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน   เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยาย และซับซ้อนเพิ่มขึ้น หน้าที่ของครูคือ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเอื้อต่อการขยายโครงสร้างทางสติปัญญาของผู้เรียน
2.1.4   ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) ของ Ausubel
สุรางค์ (2541) กล่าวว่า ทฤษฎีของ Ausubel   เป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า Meaningful Verbal Learning เท่านั้น  โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) หรือการสอนโดยให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำ Ausubel แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภท
1.  การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful Reception Learning)
2.  การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote Reception Learning)
3.  การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย (Meaningful Discovery Learning)
4.  การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิดแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote Discovery Learning)
พรรณี (2545)  กล่าวว่า ทฤษฎี Meaningful Verbal Learning  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  A Theory of Subsumption (การบอกหลักเกณฑ์) โดยอธิบายว่า การเรียนจะเกิดขึ้นได้ ถ้าการเรียนรู้สิ่งใหม่นั้น ผู้เรียนเคยมีพื้นฐานเชื่อมโยงเข้ากับความรู้ใหม่ได้  ซึ่งจะทำให้การเรียนสิ่งใหม่นั้นมีความหมาย
Ausubel  เป็นผู้ทำให้ Cognitive Theory ก้าวหน้าไปอีกขึ้นหนึ่ง  โดยที่มีความแตกต่างไปจาก Bruner  เขาเห็นว่าการเรียนที่ช่วยเด็กแก้ปัญหาได้ดีนั้นคือใช้วิธี “ Expository Teaching” หรือ Reception Learning แทนที่จะเป็น Discovery Learning
Ausubel มีความเห็นว่าการสอนที่จะช่วยเด็กแก้ปัญหาได้นั้น ครูต้องให้ทั้งกฏเกณฑ์และผลลัพธ์ ซึ่งเป็นการสอนที่เรียกว่า  “ Deductive Teaching”  ซึ่งหมายถึง  การที่ครูเริ่มต้นสอนจากนิยาม  หรือกฏเกณฎ์ไปหาคำตอบที่ต้องการ (General – Specific) เป็นวิธีการที่ครูเสนอเนื้อหาที่จะเรียนทั้งหมดให้กับนักเรียน โดยที่ทีนักเรียนไม่ต้องไปศึกษาสำรวจโดยลำพัง ซึ่งแตกต่างจากการสอนของ Bruner  ซึ่งกล่าวว่าจะต้องเริ่มต้นจากจุดใดจุดหนึ่งที่เด็กสนใจ (Spesific) และเปิดโอกาสให้เด็กสำรวจค้นคว้า (Discover) เพื่อสรุปออกมาเป็นกฏเกณฑ์สำหรับอธิบายเรื่องต่าง ๆ (General) ซึ่งเป็นการสอนที่เรียกว่า “Inductive Teaching”
Ausubel เห็นว่าการสอนเด็กที่มีอายุเกินกว่า 11 ปี หรือ 12 ปี โดยใช้วิธี Discovery  เป็นการเสียเวลา เพราะเด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องราวคำอธิบายต่าง ๆ ได้อย่างดี   ฉนั้นวิธี  Exposition  จึงเหมาะกว่า นั่นคือเสนอสิ่งที่จะให้เรียนออกมาในลักษณะสำเร็จรูป
2.1.5   ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงปัญญา (Social Cognitive Learning Theory)
สุรางค์ (2545)  กล่าวว่าเป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์  Bandura  แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
(Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา Bandura มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้
โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์  (Interact)   กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ  Bandura อธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ดังนี้
1.  ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของอินทรีย์และสิ่งแวดล้อมและถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม   โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน  Bandura ได้ถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์ ไว้ดังนี้
2.  ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้
สำคัญมาก  เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ  Bandura ได้สรุปว่าพฤติกรรมของ
มนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
2.1  พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้   ผู้ซึ่งแสดงออก หรือกระทำสม่ำเสมอ
2.2  พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ
2.3  พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ
3.  Bandura ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและทั้งสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน    ตัวอย่างเช่น  เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวก็คาดหวังว่าผู้อื่นจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อตนด้วย  ความคาดหวังนี้ก็ส่งเสริมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และผลพวงก็คือว่า เด็กอื่น (แม้ว่าจะไม่ก้าวร้าว)  ก็จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองแบบก้าวร้าวด้วย และเป็นเหตุให้เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวยิ่งแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็น
การย้ำความคาดหวังของตน Bandura  สรุปว่  “เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จะสร้างบรรยากาศก้าวร้าวรอบ ๆ ตัว  จึงทำให้เด็กอื่นที่มีพฤติกรรมอ่อนโยนไม่ก้าวร้าวแสดงพฤติกรรมตอบสนองก้าวร้าวเพราะ เป็นการแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อมที่ก้าวร้าว”
2.1.6   ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสร้างความรู้ตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
ปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของนักวิจัยและนักการศึกษาที่มีการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฏีสร้างความรู้นิยมเทคโนโลยี  และการเรียนรู้   พบว่าสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสนับสนุน
หลักการปรัชญาสร้างความรู้นิยม   การใช้ มัลติเพิล ยูสเซอร์ โดเมน  (Multiple user domain)   อีเมล์ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสิ่งแวดล้อมทั่วไป บริบทและสภาพจริงของโลก   ซึ่งนักเรียนสามารถมีประสบการณ์และสำรวจได้
2.1.6.1   Driver and Oldham  (1986  อ้างถึงใน Matthews, 1994)  ได้กำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนดังนี้
2.1.6.1.1   ขั้นนำ (Orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนบทเรียน
2.1.6.1.2   ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Elicitation of the Prior Knowledge)  เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน    วิธีการให้ผู้เรียนแสดงออกอาจทำได้โดยการอภิปรายกลุ่ม  การให้ผู้เรียนออกแบบโปสเตอร์  หรือการให้ผู้เรียนเขียนเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจที่เขามีอยู่  ผู้เรียนอาจเสนอความรู้เดิมด้วยเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers) ขั้นนี้ ทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาหรือเกิดภาวะไม่สมดุล
2.1.6.1.3   ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิด (Turning Restructuring of Ideas) นับเป็น
ขั้นตอนที่สำคัญหรือเป็นหัวใจสำคัญตามแนว Constructivism ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
ก)  ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน   ผู้เรียนจะเข้าใจดีขึ้น   เมื่อได้พิจารณาถึงความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างความคิดของตนเองกับของคนอื่น ซึ่งครูจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวก เช่น กำหนดประเด็น กระตุ้นให้คิด
ข)   สร้างความคิดใหม่   จากการอภิปรายและการสาธิต   ผู้เรียนจะเห็นแนวทางแบบวิธีการที่หลากหลายในการตีความปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์แล้วกำหนดความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่
ค)   ประเมินความคิดใหม่โดยการทดลองหรือการคิดอย่างลึกซึ้ง ซึ่งผู้เรียนควรจะหาแนวทางที่ดีที่สุดในการทดสอบความคิดหรือความรู้    ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พอใจ
ความคิดความเข้าใจที่เคยมีอยู่  เนื่องจากหลักฐานการทดลองสนับสนุนแนวคิดใหม่มากกว่า
ง)   ขั้นนำความคิดไปใช้ (Application  of  Ideas) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ  ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย เป็นการแสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การเรียนรู้ที่ไม่มีการนำความรู้ไปใช้เรียกว่า เรียนหนังสือ ไม่ใช่เรียนรู้
จ)   ขั้นทบทวน (Review) เป็นขั้นตอนสุดท้าย  ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่า ความคิดความเข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป   โดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของเขาเมื่อสิ้นสุดบทเรียน       ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างด้วยตนเองนั้นจะทำให้เกิดโครงสร้างทางปัญญา
ปรากฏในช่วงความจำระยะยาว  เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนสามารถจำได้ถาวรและสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะโครงสร้างทางปัญญาคือ กรอบของความหมายหรือแบบแผนที่บุคคลสร้างขึ้น ใช้เป็นเครื่องมือในการตีความหมาย ใช้เหตุผลแก้ปัญหา  ตลอดจนใช้ เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่ นอกจากนี้ยังทบทวนเกี่ยวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น   ทบทวนว่าจะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างไร และยังมีเรื่องใดที่ยังสงสัยอยู่อีกบ้าง
Driver and  Bell  (อ้างถึงใน ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2545)  ว่า ผู้เรียนควรจะเรียนเนื้อหาสาระไปพร้อมกับการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้การสอนแบบให้ผู้เรียนสร้างความรู้ เน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสำคัญของความรู้เดิมและยังได้สรุปแนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ได้ดังนี้  ผลการเรียนรู้ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนด้วย
2.1.7   รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม 3 รูปแบบ (Three Constructivist Design Model)
Concept to Classroom  ได้กล่าวถึงรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยมไว้ดังนี้
2.1.7.1   วงจรผู้เรียน คือการออกแบบ 3 ขั้น ที่สามารถใช้เป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ได้กับกิจกรรมหลายแบบของการเรียนในแนวสร้างความรู้นิยม   วงจรการเรียนเป็นรูปแบบที่ให้ความสำคัญของกระบวนการเรียนที่เราใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ กระบวนการขั้นแรกเริ่มจากการสืบค้น  ครูจะจูงใจให้ผู้เรียนตั้งคำถามหรือตั้งสมมติฐานจากงานที่ทำจากวัสดุการเรียนหลาย ๆ  ชิ้น ขั้นที่ 2  ครูจะจัดเตรียม แนะนำแนวคิดของบทเรียน ครูจะปรับจุดสนใจของผู้เรียน ด้วยคำถามและช่วยนักเรียนในการสร้างสมมติฐานและออกแบบการทดลอง  ในขั้นที่ 3   โดยประยุกต์แนวความคิด   นักเรียนจะทำงานด้วยปัญหาใหม่ที่ถูกพิจารณาแนวความคิดในการศึกษาใหม่   ใน 2  ขั้นแรกจะพบว่าวงจรจะถูกพิจารณากลับไปกลับมาหลายครั้งในบทเรียน
2.1.7.2   รูปแบบการเรียนที่พัฒนาโดย  Gagnon.Jr., และ  Collay  ในรูปแบบการเรียนนี้ ครูจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
2.1.7.2.1   พัฒนาการอธิบายให้เหมาะสมกับนักเรียน
2.1.7.2.2   เลือกกระบวนการสำหรับกลุ่ม วัสดุการศึกษาและนักเรียน
2.1.7.2.3   เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ผู้เรียนพร้อมที่รู้กับสิ่งที่ครูต้องการให้เรียน
2.1.7.2.4   เตรียมคำถามล่วงหน้าในการถามตอบและต้องมีการอธิบายคำตอบ
2.1.7.2.5   จูงใจผู้เรียนให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมกันแสดงความคิดกับคนอื่น
2.1.7.2.6   เรียกร้องให้นักเรียนสะท้อนสิ่งที่เรียนออกมา
2.1.7.3   Mcclintock และ Black จาก Columbia University Teacher College  ได้ออกแบบ
รูปแบบการเรียนจากสภาพแวดล้อมในการสนับสนุนการเรียนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่ โรงเรียน Dalton ในรัฐ New York รูปแบบ The Information Construction (ICON) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน:
2.1.7.3.1   การสังเกต : นักเรียนจะสังเกตจากแหล่งสื่อที่เป็นปฐมภูมิในบริบทที่เป็น
ธรรมชาติ หรือสถานการณ์จำลอง
2.1.7.3.2   การตีความ : นักเรียนตีความสิ่งที่สังเกตและอธิบายเหตุผล
2.1.7.3.3   สภาพแวดล้อมที่ช่วยในการเข้าใจความหมาย : นักเรียนสร้างบริบท
สำหรับการอธิบาย
2.1.7.3.4   เกิดพุทธิปัญญา : ครูช่วยให้นักเรียนเกิดการสังเกตอย่างเชี่ยวชาญ,  การแปล
ความและเกิดสภาพแวดล้อมที่ช่วยในการเข้าใจความหมาย
2.1.7.3.5   การร่วมมือ : นักเรียนร่วมมือกันในสังเกต, การแปลความและเกิดสภาพ
แวดล้อมที่ช่วยในการเข้าใจความหมาย
2.1.7.3.6   มีการตีความหลายอย่าง : นักเรียนมีความยืดหยุ่นทางปัญญาสูงขึ้นโดยการตีความหลาย ๆ ครั้งจากนักเรียนคนอื่นและจากตัวอย่างที่ดี
2.1.7.3.7   เข้าใจอย่างแจ่มชัด : นักเรียนสามารถถ่ายโยงโดยการมองอย่างแจ่มชัดในการตีความ


2.1.1   การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Desig) มีชื่อเรียกหลากหลาย  เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)  การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional Design and Developmen)  เป็นต้น  ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด  แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือ มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (System Approach) (ฉลอง, 2551)
แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา  ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ  รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design Systems)    หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึงปัจจุบัน  นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ
รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบและการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์
ที่เชื่อได้ว่า ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด
ทิศนา (2548) ได้กล่าวว่า รูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอน(Teaching/Instructional Model)  คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดระบบอย่างสัมพันธ์กับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ  และได้รับการพิสูจน์  ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ   สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว   มักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด   ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือเป็นแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้
2.1.2   ทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism)
2.1.2.1  ความหมายของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม  ได้มีผู้ให้ความหมายและชื่อของทฤษฎี
Constructivism ไว้แตกต่างกัน ดังนี้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่าเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน(สุภนิดา, 2553)
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism Approach) มีหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการสอน การเรียนรู้คือนักเรียนจะต้องสร้างความรู้ (Knowledge) ขึ้นในใจเอง ครูเป็นแค่เพียงผู้ช่วยหรือเข้าใจในกระบวนการนี้โดยหาวิธีการจัดการข้อมูลข่าวสารให้มีความหมายแก่นักเรียน หรือให้โอกาสนักเรียนได้มีโอกาสค้นพบด้วยตนเอง นอกจากนี้จะต้องสอนศิลปะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  นักเรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเองไม่ว่าครูจะใช้วิธีสอนอย่างไร (สุรางค์, 2541)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)  ทฤษฎีการสร้างความรู้ว่าด้วยผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นได้เอง การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของบุคคลในการสร้างความรู้และความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้รับ ผ่านกระบวนการซึมซับ (Assimilation)  คือการนำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ที่ได้รับไปเชื่อมโยงอย่างกลมกลืนกับโครงสร้างความรู้ที่ตนมีอยู่  และการปรับกระบวนการการรู้คิด  (Accommodation)  คือการคิดค้นหาวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างความเข้าใจจนเกิดเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง  ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการภายในที่แต่ละบุคคลต้องเป็นผู้สร้างด้วยตนเองและสามารถทำได้ดียิ่งหากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากที่อื่น (ราชบัณฑิตสถาน, 2551)
นิรมิตนิยม (Constructivism) (นิรมิต แปลว่า สร้าง) สรุปไว้ว่า“นิรมิตนิยมเชื่อว่า ความรู้ ก็คือ
สิ่งที่ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจ    ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเขา  ขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของเขา เราไม่สามารถจะถ่ายทอดความรู้จากการสอนโดยตรง  แต่เด็กจะต้องค้นพบความรู้ด้วยตัวของเขา  ซึ่งก็หมายความว่าเด็กต้องสร้าง (Construct) ความรู้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง   การสร้างความรู้นั้นก็มีหลักการว่า ต้องเรียนความรู้จากบริบทที่แวดล้อมอยู่ ต้องเรียนจากการทำจริงปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่เป็นจริง ครูยังมีบทบาทสำคัญ ไม่ใช่ฐานะผู้สอนแต่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เด็กต้องมีอิสระที่จะเลือก ที่จะเรียน  เด็กต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อนนักเรียนด้วยกันมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ฯลฯ
หลักการต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กสามารถนิรมิต (Construc)  ความรู้ใหม่  (สำหรับตัวเขา) ขึ้นได้”
(สุนทร, 2540)
ทฤษฎีการสร้างความรู้นิยม (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่เน้นบทบาทของความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เรียนในการเรียนรู้หรือสร้างข้อมูลอย่างมีความหมาย  นักทฤษฎีสร้างความรู้นิยม เน้นความสำคัญของความเข้าใจปัจจุบัน  และเห็นว่าการเรียนรู้ใหม่เกิดจากการแปลความหรือตีความจากความเข้าใจภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่ข้อมูลเดี่ยวแต่เป็นการเชื่อมสัมพันธ์กับความรู้ที่มีในภายหลัง (ณมน, 2549)
สรุปได้ว่า ทฤษฎี Constructivism เป็นทฤษฎีที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำข้อมูลและเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองและยังเป็นกระบวนการทางสังคมอีกด้วย  ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียกว่าทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
2.1.2.2   หลักการที่สำคัญในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (Active)   และสร้างความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างเชาว์ปัญญาของ Piajet  และ  Vygotsky  ซึ่งอธิบายว่า  โครงสร้างทางสติปัญญา (Scheme)  ของบุคคลมีการพัฒนาผ่านทางกระบวนการดูดซับหรือซึมซับ  (Assimilation)
และกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญา  (Accommodation)   เพื่อให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล (Equilibrium) ซึ่ง Piajet   เชื่อว่าทุกคลจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม    ส่วน Vygotsky  ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม  สังคม  และภาษามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ สุรางค์  (2544) ได้กล่าวว่า พื้นฐานของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม มีรากฐานมาจาก 2 แห่ง คือ ทฤษฎีพัฒนาการของ Piajet และ Vygotsky คือ
2.1.2.2.1   ทฤษฎีสร้างความรู้นิยมเชิงปัญญา (Cognitive Constructivism) หมายถึงฐานรากมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ Piajet ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ  (Active)  และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลย์ทางพุทธิปัญญาขึ้นเป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่จนกระทั่งเกิดความสมดุยล์ทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
2.1.2.2.2   ทฤษฎีสร้างความรู้นิยมเชิงสังคม (Social Constructivism)   เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ Vygotsky  ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขึ้น
สรุปได้ว่า  Piajet  เน้นการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับความรู้เดิม  ในขณะที่แนวคิดของ Vygotsky  เน้นการเรียนรู้ว่าเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
2.1.3   ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของ Bruner
Jerome Bruner  เป็นนักจิตวิทยาแนวพุทธิปัญญา  ที่เน้นที่พัฒนาการเกี่ยวกับความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจของผู้เรียนประกอบกับการจัดโครงสร้างของเนื้อหาที่จะเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
และได้เสนอทฤษฎีการสอน (Theory of Instruction)
2.1.3.1   การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
NECTEC’s Web based Learning ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ตามทฤษฎีของBruner ไว้ดังนี้
1.  ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2.  ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.  ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
4.  ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.  ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6.  เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
สุรางค์ (2541) ได้กล่าวว่า Bruner เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม   ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา Bruner เรียกว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery – Approach)   หรือนักการศึกษาบางท่านเรียกว่า  การเรียนรู้ด้วยการสอบ  สืบ  ( Inquiry Learning) แต่มีนักการศึกษาบางท่านได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้โดยการค้นพบและการเรียนรู้แบบสอบสืบแตกต่างกัน คือ การเรียนรู้โดยการค้นพบ ครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่จะให้นักเรียนเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของบทเรียนพร้อมด้วยคำถาม     โดยตั้งความคาดหวังว่านักเรียนจะเป็นผู้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ส่วนการเรียนรู้ด้วยการสอบสืบมีวัตถุประสงค์ที่จะฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถชี้ว่าปัญหาคืออะไร     จากข้อมูลที่มีอยู่และหาวิธีว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไรโดยใช้ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่  ซึ่งสอดคล้องกับ พรรณี (2528) กล่าวว่า Discovery เด็กจะใช้การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้มาเพื่อการค้นพบ Concept โดยการสังเกต (Observing)  การจัดประเภท (Classifying)  การวัด (Measuring)  การทำนาย (Predicting)  และการอ้างอิง (Inferring)   ส่วน Inquiry  จะใช้กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วบวกกับกระบวนการต่อไปนี้  การตั้งคำถาม   การตั้งสมมติฐาน   การวางแผน การทดลองตลอดจนการสังเคราะห์ และการแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ ผู้เรียนจะประมวลข้อมูลข่าวสาร จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจะรับรู้สิ่งที่ตนเองเลือก หรือสิ่งที่ใส่ใจ การเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้เกิดการค้นพบ  เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น    ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สำรวจสิ่งแวดล้อม  และทำให้เกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยมีแนวคิดที่เป็นพื้นฐาน ดังนี้
สุรางค์ (2541)  การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน  การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
Bruner ได้เห็นด้วยกับ Piajet ว่า คนเรามีโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) มาตั้งแต่เกิด
ในวัยทารกโครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อน  เพราะยังไม่พัฒนาต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการขยายและซับซ้อนขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนก็คือการช่วยเอื้อการขยายของโครงสร้างสติปัญญาของนักเรียน นอกจากนี้ Bruner  ยังได้ให้หลักการเกี่ยวกับการสอนดังต่อไปนี้
1.  กระบวนความคิดของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่ เวลาเด็กทำผิดเกี่ยวกับความคิด ผู้ใหญ่ควรจะคิดถึงพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา  ซึ่งเด็กแต่ละวัยมีลักษณะการคิดที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่  ครูหรือผู้มีความรับผิดชอบทางการศึกษาจะต้องมีความเข้าใจว่าเด็กแต่ละวัยมีการรู้คิดอย่างไร และกระบวนการรู้คิดของเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่ (Intellectual Empathy)
2.  เน้นความสำคัญของผู้เรียน  ถือว่าผู้เรียนสามารถจะควบคุมกิจกรรม การเรียนรู้ของตนเองได้ (Self- Regulation) และเป็นผู้ที่จะริเริ่มหรือลงมือกระทำ ฉะนั้นผู้มีหน้าที่สอนและอบรม มีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยให้โอกาสผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3.  ในการสอนควรจะเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคย  หรือประสบการณ์ที่ใกล้ตัวไปหา
ประสบการณ์ที่ไกลตัว เพื่อผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจ เช่น การสอนให้นักเรียนรู้จักการใช้แผนที่ ควรจะเริ่มจากแผนที่ของจังหวัดของผู้เรียนก่อนแผนที่จังหวัดอื่นหรือแผนที่ประเทศไทย
Bruner   เชื่อว่าวิชาต่าง ๆ  จะสอนให้ผู้เรียนเข้าใจได้ทุกวัย   ถ้าครูจะสามารถใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  ข้อสำคัญครูจะต้องให้นักเรียนเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้แก้ปัญหาเอง Bruner ได้สรุปความสำคัญของการเรียนรู้โดยการค้นพบว่าดีกว่าการเรียนรู้โดยวิธีอื่น ดังต่อไปนี้
1.  ผู้เรียนจะเพิ่มพลังทางสติปัญญา
2.  เน้นรางวัลที่เกิดจากความอิ่มใจในสัมฤทธิ์ผลในการแก้ปัญหามากกว่ารางวัลหรือเน้นแรงจูงใจภายในมากกว่าแรงจูงใจภายนอก
3.  ผู้เรียนจะเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยการค้นพบและสามารถนำไปใช้ได้
4.  ผู้เรียนจะจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีและได้นาน
พรรณี (2545) กล่าวว่า ความคิดของ Bruner  เกี่ยวกับการสอนคือ  ในการสอนเรามุ่งหวังที่จะสอนให้คนมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ เราสอนเนื้อหาวิชา แต่มิใช่เพื่อให้ท่องจำ แต่สอนเพื่อช่วยให้ได้คิดอย่างมีเหตุผล  ให้ได้มีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้   ความรู้เป็นกระบวนการได้เป็นผลผลิต
สรุปได้ว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือ การรู้คิดโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine  และ  Symbolizing  ซึ่งอยู่ในขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ  Enactive, Iconic  และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตมิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น Bruner เห็นด้วยกับ Piajet ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา (Cognitive Structure) มาตั้งแต่เกิด   ในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน   เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยาย และซับซ้อนเพิ่มขึ้น หน้าที่ของครูคือ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเอื้อต่อการขยายโครงสร้างทางสติปัญญาของผู้เรียน
2.1.4   ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) ของ Ausubel
สุรางค์ (2541) กล่าวว่า ทฤษฎีของ Ausubel   เป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า Meaningful Verbal Learning เท่านั้น  โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) หรือการสอนโดยให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำ Ausubel แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภท
1.  การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful Reception Learning)
2.  การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote Reception Learning)
3.  การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย (Meaningful Discovery Learning)
4.  การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิดแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote Discovery Learning)
พรรณี (2545)  กล่าวว่า ทฤษฎี Meaningful Verbal Learning  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  A Theory of Subsumption (การบอกหลักเกณฑ์) โดยอธิบายว่า การเรียนจะเกิดขึ้นได้ ถ้าการเรียนรู้สิ่งใหม่นั้น ผู้เรียนเคยมีพื้นฐานเชื่อมโยงเข้ากับความรู้ใหม่ได้  ซึ่งจะทำให้การเรียนสิ่งใหม่นั้นมีความหมาย
Ausubel  เป็นผู้ทำให้ Cognitive Theory ก้าวหน้าไปอีกขึ้นหนึ่ง  โดยที่มีความแตกต่างไปจาก Bruner  เขาเห็นว่าการเรียนที่ช่วยเด็กแก้ปัญหาได้ดีนั้นคือใช้วิธี “ Expository Teaching” หรือ Reception Learning แทนที่จะเป็น Discovery Learning
Ausubel มีความเห็นว่าการสอนที่จะช่วยเด็กแก้ปัญหาได้นั้น ครูต้องให้ทั้งกฏเกณฑ์และผลลัพธ์ ซึ่งเป็นการสอนที่เรียกว่า  “ Deductive Teaching”  ซึ่งหมายถึง  การที่ครูเริ่มต้นสอนจากนิยาม  หรือกฏเกณฎ์ไปหาคำตอบที่ต้องการ (General – Specific) เป็นวิธีการที่ครูเสนอเนื้อหาที่จะเรียนทั้งหมดให้กับนักเรียน โดยที่ทีนักเรียนไม่ต้องไปศึกษาสำรวจโดยลำพัง ซึ่งแตกต่างจากการสอนของ Bruner  ซึ่งกล่าวว่าจะต้องเริ่มต้นจากจุดใดจุดหนึ่งที่เด็กสนใจ (Spesific) และเปิดโอกาสให้เด็กสำรวจค้นคว้า (Discover) เพื่อสรุปออกมาเป็นกฏเกณฑ์สำหรับอธิบายเรื่องต่าง ๆ (General) ซึ่งเป็นการสอนที่เรียกว่า “Inductive Teaching”
Ausubel เห็นว่าการสอนเด็กที่มีอายุเกินกว่า 11 ปี หรือ 12 ปี โดยใช้วิธี Discovery  เป็นการเสียเวลา เพราะเด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องราวคำอธิบายต่าง ๆ ได้อย่างดี   ฉนั้นวิธี  Exposition  จึงเหมาะกว่า นั่นคือเสนอสิ่งที่จะให้เรียนออกมาในลักษณะสำเร็จรูป
2.1.5   ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงปัญญา (Social Cognitive Learning Theory)
สุรางค์ (2545)  กล่าวว่าเป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์  Bandura  แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
(Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา Bandura มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้
โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์  (Interact)   กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ  Bandura อธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ดังนี้
1.  ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของอินทรีย์และสิ่งแวดล้อมและถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม   โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน  Bandura ได้ถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์ ไว้ดังนี้
2.  ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้
สำคัญมาก  เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ  Bandura ได้สรุปว่าพฤติกรรมของ
มนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
2.1  พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้   ผู้ซึ่งแสดงออก หรือกระทำสม่ำเสมอ
2.2  พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ
2.3  พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ
3.  Bandura ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและทั้งสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน    ตัวอย่างเช่น  เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวก็คาดหวังว่าผู้อื่นจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อตนด้วย  ความคาดหวังนี้ก็ส่งเสริมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และผลพวงก็คือว่า เด็กอื่น (แม้ว่าจะไม่ก้าวร้าว)  ก็จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองแบบก้าวร้าวด้วย และเป็นเหตุให้เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวยิ่งแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็น
การย้ำความคาดหวังของตน Bandura  สรุปว่  “เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จะสร้างบรรยากาศก้าวร้าวรอบ ๆ ตัว  จึงทำให้เด็กอื่นที่มีพฤติกรรมอ่อนโยนไม่ก้าวร้าวแสดงพฤติกรรมตอบสนองก้าวร้าวเพราะ เป็นการแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อมที่ก้าวร้าว”
2.1.6   ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสร้างความรู้ตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
ปัจจุบันมีการเพิ่มขึ้นของนักวิจัยและนักการศึกษาที่มีการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฏีสร้างความรู้นิยมเทคโนโลยี  และการเรียนรู้   พบว่าสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสนับสนุน
หลักการปรัชญาสร้างความรู้นิยม   การใช้ มัลติเพิล ยูสเซอร์ โดเมน  (Multiple user domain)   อีเมล์ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสิ่งแวดล้อมทั่วไป บริบทและสภาพจริงของโลก   ซึ่งนักเรียนสามารถมีประสบการณ์และสำรวจได้
2.1.6.1   Driver and Oldham  (1986  อ้างถึงใน Matthews, 1994)  ได้กำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนดังนี้
2.1.6.1.1   ขั้นนำ (Orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนบทเรียน
2.1.6.1.2   ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Elicitation of the Prior Knowledge)  เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน    วิธีการให้ผู้เรียนแสดงออกอาจทำได้โดยการอภิปรายกลุ่ม  การให้ผู้เรียนออกแบบโปสเตอร์  หรือการให้ผู้เรียนเขียนเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจที่เขามีอยู่  ผู้เรียนอาจเสนอความรู้เดิมด้วยเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers) ขั้นนี้ ทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาหรือเกิดภาวะไม่สมดุล
2.1.6.1.3   ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิด (Turning Restructuring of Ideas) นับเป็น
ขั้นตอนที่สำคัญหรือเป็นหัวใจสำคัญตามแนว Constructivism ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
ก)  ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน   ผู้เรียนจะเข้าใจดีขึ้น   เมื่อได้พิจารณาถึงความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างความคิดของตนเองกับของคนอื่น ซึ่งครูจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวก เช่น กำหนดประเด็น กระตุ้นให้คิด
ข)   สร้างความคิดใหม่   จากการอภิปรายและการสาธิต   ผู้เรียนจะเห็นแนวทางแบบวิธีการที่หลากหลายในการตีความปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์แล้วกำหนดความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่
ค)   ประเมินความคิดใหม่โดยการทดลองหรือการคิดอย่างลึกซึ้ง ซึ่งผู้เรียนควรจะหาแนวทางที่ดีที่สุดในการทดสอบความคิดหรือความรู้    ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พอใจ
ความคิดความเข้าใจที่เคยมีอยู่  เนื่องจากหลักฐานการทดลองสนับสนุนแนวคิดใหม่มากกว่า
ง)   ขั้นนำความคิดไปใช้ (Application  of  Ideas) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ  ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย เป็นการแสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การเรียนรู้ที่ไม่มีการนำความรู้ไปใช้เรียกว่า เรียนหนังสือ ไม่ใช่เรียนรู้
จ)   ขั้นทบทวน (Review) เป็นขั้นตอนสุดท้าย  ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่า ความคิดความเข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป   โดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของเขาเมื่อสิ้นสุดบทเรียน       ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างด้วยตนเองนั้นจะทำให้เกิดโครงสร้างทางปัญญา
ปรากฏในช่วงความจำระยะยาว  เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนสามารถจำได้ถาวรและสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะโครงสร้างทางปัญญาคือ กรอบของความหมายหรือแบบแผนที่บุคคลสร้างขึ้น ใช้เป็นเครื่องมือในการตีความหมาย ใช้เหตุผลแก้ปัญหา  ตลอดจนใช้ เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น